รูปแบบการพิมพ์
การเขียนบทคัดย่อ (Abstract)
บทคัดย่อ คือข้อความที่สรุปเนื้อหาที่สำคัญของภาคนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ (1) ภูมิหลัง และวัตถุประสงค์ (Baclground and Objectives) (2) วิธีการวิจัย (Reserch Methods) (3) ผลการวิจัย (Findings) และ (4) อภิปราย สรุป และข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) [Discussion, Conclusion, and Recommendation (If any)] การเขียนบทคัดย่อมีหลักการที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. มีความถูกต้อง (Accuracy) คือ สามารถในการถ่ายทอดประเด็นสำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้องตามเนื้อหาเดิมของเอกสารต้นฉบับ
2. มีความชัดเจน (Clarity) คือ การเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อความหมายให้เข้าใจชัดเจน โดยใช้รูปแบบประโยคที่สมบูรณ์ไม่ใช่เขียนกระท่อนกระแท่นเป็นคำๆ
3. มีความกระชับ (Concision) คือ ไม่คลุมเครือ เข้าใจง่าย เลือกเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นความสำคัญของเอกสาร โดยใช้สำนวนที่ประทัดรัด มีความกระชับหลีกเลี่ยงการใช้คำหรือประโยคที่มีความยาว หรือซ้ำซ้อน
วิธีการเขียนบทคัดย่อของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นแบบแยกหัวข้อ (Structurtd Avstract)
เขียนแยกหัวข้อ 4 หัวข้อ แต่ละหัวข้อให้ย่อหน้าใหม่ความยาวโดยทั่วไปประมาณ 1 หน้าครึ่งเพื่อให้ผู้เขียนสามารถเขียนบทคัดย่อได้อย่างครอบคลุมเนื้อหาสาระทุกหัวข้อไม่ตกหล่นสาระสำคัญ
ย่อหน้าที่ 1 กล่าวถึงภูมิหลังและวัตถุประสงค์ (Baclground and Objectives)
ย่อหน้าที่ 2 กล่าวถึงวิธีการวิจัย (Reserch Methods)
ย่อหน้าที่ 3 กล่าวถึงผลการวิจัย (Findings)
ย่อหน้าที่ 4 กล่าวถึงอภิปราย สรุป และข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) [Discussion, Conclusion, and Recommendation (If any)]